สุขศึกษาฯ

สุขศึกษา


ระบบต่อมไร้ท่อ




ต่อมไร้ท่อ(Endocrine Gland) หมายถึงต่อมที่ไม่มีท่อประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่สร้างและหลั่งสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน (hormone) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือดหรือน้ำเหลืองไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ของของอวัยวะเป้าหมาย (target organ)  ที่อยู่ไกลออกไป หรืออยู่ใกล้เคียงกัน  มีลักษณะการทำงานค่อนข้าช้า แต่ได้ผลการทำงานที่นาน ซึ่งฮอร์โมนมีความสำคัญต่อร่างกายและมีอิธพลต่อพฤติกรรมของคนเราอโดยฮอร์โมนแต่ล่ะชนิดจะทำงานไปพร้อมๆกันเพื่อรักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ
หน้าที่สำคัญคือ ควบคุมระบบพลังงานของร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมระบบสืบพันธุ์และต่อมน้ำนม ถ้าเกิดความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่มีการผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะส่งผลเฉพาะต่ออวัยวะที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้นๆ ให้ทำงานผิดปกติไปด้วย ระบบต่อมไร้ท่อจึงถือเป็นระบบสื่อสารภายในร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมเชื่อมโยง ติดต่อประสานกับการทำงานของระบบอื่นๆในร่างกาย ลักษณะการทำงานจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ให้ผลระยะยาวนาน เช่นการเจริญเติบโตของร่างกาย การผลิตน้ำนม ซึ้งต้องอาศัยเวลาจึงจะแสดงผลให้ปรากฏ
บทบาทหน้าที่ของฮอร์โมน
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
  1. การสืบพันธุ์ โดยฮอรฺโมนจากระบบสืบพันธุ์ เช่น แอนโดรเจน (androgen) เอสโตรเตน (estrogen) โพรเจสเคอโรน(progesterone) luteinizing hormone  follicle stimulating hormone และ โพรแลกติน ฮอร์โมนเหล่านี้จะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงตามวัยของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น การสร้างอสุจิ  การตั้งครรภ์ การคลอดเป็นต้น
  2. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายทำให้มีการเจนิญเติบโตของเนื้อเยื่อของร่างกายการเจริญเติบโตตามวัย การแก่ชรา ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องคือ Growth hormone, Thyroxin hormone, Insulin
  1. การสร้างและการใช้พลังงาน คือ ควบคุมกระบวนการ Metabolism ภายในร่างกายให้มีการใช้พลังงานของเซลล์ของอวัยวะต่างๆ เช่น ควบคุมกระบวนการ Metabolism ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน โดยมีฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง คือ อินซูลิน เอพิเนฟริน คอติซอล
  2. การรักษาสภาวะภายในร่างกายให้คงที่ เช่นการควบคุมเกลือแร่ และน้ำ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมภายในร่างกายให้สมดุล ได้แก่ แอลโดสเตอโรน ควบคุมโซเดียม ADH (Antidiuretic hormone) ควบคุมปริมาณน้ำ เป็นต้น
ประเภทและคุณสมบัติของฮอร์โมน
  1. Paracrine hormone คือฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์โดยการไปกระตุ้นหรือยับยั้งกระบวนการบางอย่างในเซลล์เป้าหมายที่อยู่ข้างเคียง
  2. Autocrine hormone คือฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ที่เซลล์ผลิตฮอร์โมนเอง
  3. Endocrine hormone คือ ฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต่อเซลล์เป้าหมายที่อยู่ไกลออกไปจากเซลล์ที่สร้างออร์โมน
  4. Neurocrine hormone คือฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ประสาท ส่งไปตามเส้นใยประสาทเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด

การจำแนกต่อมไร้ท่อตามความสำคัญต่อชีวิต
1.2.1) Essential endocrine gland เป็นต่อมไร้ท่อที่จำเป็นมาก ถ้าขาดแล้วทำให้ตายได้ ได้แก่ต่อมดังต่อไปนี้
1.1)ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid)
1.2) ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex)
1.3) ต่อมไอส์เลตของตับอ่อน (islets of Langerhans )
1.2.2 ) Non – Essential endocrine gland เป็นต่อมที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นน้อยมากต่อร่างกาย ได้แก่ต่อม ดังต่อไปนี้
2.1) ต่อมใต้สมอง ( pituitary )
2.2) ต่อมไทรรอยด์ ( thyroid )
2.3) ต่อมหมวกไตชั้นใน ( adrenal medulla )
2.4) ต่อมไพเนียล ( pineal )
2.5) ต่อมไทมัส ( thymus )
2.6) ต่อมเพศ ( gonads )
เมื่อแบ่งฮอร์โมนออกตามคุณสมบัติทางเคมี แบ่งได้เป็น 5 ชนิด คือ
  1. ฮอร์โมนประเภทเพป์ไทด์หรือโปรตีน (peptide hormone, protein hormone) โครงสร้างประกอบด้วยกรดอะมิโน ได้แก่ ฮอร์โมนที่ได้จาก hypothalamus, pituitary gland parathyroid gland, ตับ ตับอ่อน ฮอร์โมนประเภทโปรตีนบางชนิดมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบของโมเลกุล เรียกว่า glycoprotein ฮอร์โมนกลุ่มนี้ได้แก่ gonadotropin hormone (follicle stimulating hormone; FSH, luteinizing hormone; LH) และ thyrotrophic hormone (thyroid stimulating hormone; TSH) มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ สร้างและเก็บไว้ในต่อมที่สร้างในถุงขับหลั่ง เมื่อหลั่งออกสู่ระบบไหลเวียนจะอยู่ในรูปอิสระไม่จับกับโปรตีนใด ๆในพลาสมา ระดับของฮอร์โมนไม่คงที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มี half life สั้น 5-10 นาที ไม่ผ่านเข้าเซลล์อวัยวะเป้าหมาย จึงต้องมีตัว receptor อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ออกฤทธิ์โดยผ่านตัวส่งข่าวตัวที่ 2
  2. Steriod hormone สังเคราะห์จากสารเริ่มต้น คือ cholesterol ที่อยู่ในรังไข่นฮอร์โมน อัณฑะ ต่อมหมวกไตส่วนนอก มีคุณสมบัติละลายในไขมันได้ดี สามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ คุณสมบัติเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะถูกหลั่งออกมาทันที ถูกขนส่งทางกระแสโลหิต  โดยจับกับโปรตีนอย่างจำเพาะในพลาสมา ระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดค่อนขางคงที่ มี half life นานกว่า peptide hormone  เข้าไปในเซลล์จับกับ cytoplasmic receptor ออกฤทธิ์ที่ยีนส์
  3. ฮอร์โมนประเภทเอมีน สังเคราะห์จากกรดอมิโน tryptophan, tyrosine โดยตัดกลุ่มคาร์บอกซิล  (-COOH) ออกแล้วมาต่อกันใหม่ เรียกฮอร์โมนกลุ่มนี้ว่า amine สร้างจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) มีขนาดโมเลกุลเล็ก ได้แก่ ฮอร์โมน catecholamine นอกจากนี้ยังมีต่อมหมวกไตส่วนใน และต่อมธัยรอยด์ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนในได้แก่ เอพิเนฟรินและนอร์เอพิเนฟรินเมื่อหลั่งออกสู่ระบบไหลเวียน    เอพิเนฟรินจะจับกับอัลบูมินในพลาสมาส่วนนอร์เอพิเนฟริน จะอยู่ในรูปอิสระส่วนธัยรอยด์ฮอร์โมนจะจับกับโปรตีนเฉพาะในพลาสมา คุณสมบัติของเอมีฮอร์โมน คือ สร้างและถูกเก็บไว้ในต่อมที่สร้างใน vesicles ถูกขนส่งทางกระแสโลหิต บางชนิดจับกับพลาสมา เช่น ไทรอกซีน บางชนิดไม่จับกับโปรตีนในพลาสมา ได้แก่  catecholamine เป็นฮอร์โมนที่ละลายในน้ำได้ดี
  4. Derivative of fat สังเคราะห์จากไขมันไม่อิ่มตัวได้แก่ arachidonic acid มีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลทางสรีระ
  5. Glycoprotein hormone เกิดจากการต่อ CHO ให้แก่กรดอมิซีรีน ธรีโอนีน เป็นต้น ได้แก่ FSH, LH, TSH
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนมี 4 วิธี
1.การหลั่งฮอร์โมนตามปริมาณการใช้   ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเมื่อมีความต้องการใช้ เซลล์ของต่อมไร้ท่อจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารในกระแสเลือด หรือความเข้มข้นของฮอร์โมนในกระแสเลือด เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมายเท่านั้น ซึ่งตัวกระตุ้นเหล่านี้ อาจจะมีจำนวนมากแล้วกระตุ้น ให้ฮอร์โมนหยุดการทำงาน เช่นถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หรือถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอนออกมาทำงาน ซึ่งแล้วแต่การทำงานของฮอร์โมนแต่ละตัว
การหลั่งของฮอร์โมนต้องสัมพันธ์กับการสร้าง เพราะจะได้มีการสร้างฮอร์โมนใหม่ ให้มาทดแทนที่ถูกหลั่งออกไป เมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นแรงๆ จะมีการหลั่งสองลักษณะ (biphasic) คือมีการหลั่งอย่างรวดเร็วในระยะแรก แล้วหลั่งน้อยลง แต่นานกว่าในช่วงหลัง พร้อมทั้งมีการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น อัตราการหลั่งของฮอร์โมน จึงมีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ เป็นช่วงๆ (pulsatile) มีหลายแบบดังนี้ การหลั่งเป็นช่วงๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง (circhoral) เช่น ฮอร์โมนเพศ การหลั่งขึ้นลงนานกว่าชั่วโมงแต่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (ultradian) การหลั่งเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยมีระดับสูงที่เวลาเดียวกันทุกวัน (diurnal) เช่นฮอร์โมน ACTH ที่หลั่งออกมาสูงช่วงเช้ามืดของทุกวัน การหลั่งแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง (circadian) เช่นโกรทฮอร์โมนจะหลั่งขณะที่นอนหลับสนิทและการหลั่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาประมาณ 1 ปี/หรือฤดูกาล (circannnual/seasonal) เช่นระดับสูงสุดของโกนาโดโทรปิน ในช่วงก่อนตกไข่ทุก 28 วันและขึ้นลงตามฤดูกาลได้
2.การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ (negative feedback ) เป็นรูปแบบการควบคุมที่ใช้มาก คือการที่อวัยวะเป้าหมายสร้างสารขึ้นมาเพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของต่อมไร้ท่อหลั่งฮอร์โมนหรือน้อยลงโดยทางตรงเ เช่น การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อระดับของกลูโคสในกระแสเลือดมาก ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อนำกลูโคสเข้าเซลล์ ซึ่งจะทำให้ระดับกลูโคส ในกระแสเลือดลดลง ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดที่ต่ำลง จะไปส่งสัญญาณให้ตับอ่อน ผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง เป็นต้น

3.การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ ( positive feedback) เป็นรูปแบบที่พบน้อยกว่า เป็นการทำงานตรงกันข้าม กับการยับยั้งที่กล่าวมาแล้ว คือ แทนที่จะไปยับยั้งแต่ผลของฮอร์โมน จะไปกระตุ้นให้มีการทำงานของต่อมไร้ท่อมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งการที่ทารกดูดนมมารดาอยู่สม่ำเสมอ จะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไต้สมองสร้างฮอร์โมนออกซิโทซินตลอดเวลาหรือมากขึ้น
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ (Positive feedback)
ต่อมไร้ท่อหลักของร่างกายประกอบด้วย
1.ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus)
2.ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)
3.ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
4.ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)
5.ตับอ่อน (Pancrease)
6.ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)
7.ต่อมเพศ (Gonad)
8.ต่อมเหนือสมอง (Pineal gland)

อ้างอิง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เพลงที่ชอบ

สถานที่ชอบ

อาหารที่ชอบ